fbpx

5 เทคนิคแพ็กของอาหารแช่แข็ง ให้ถึงมือลูกค้าแบบไม่เสียหาย

คนที่เขาแพ็กอาหารแช่แข็งขาย มีวิธีการในการแพ็กและ ขนส่งอาหารแช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง อย่างไร เพื่อให้อาหารรักษาความสดอยู่ตลอดเวลา เราจะมาเผยเคล็ดลับการแพ็ก
Palo (น้องพะโล้)

Palo (น้องพะโล้)

แพ็กอาหารแช่แข็ง อาหารทะเล

SHARES

เคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่าบรรดาร้านสะดวกซื้อหรือร้านค้าอาหารทะเลที่จำหน่ายอาหารแช่แข็งสำเร็จรูปพร้อมรับประทานหรืออาหารสดแช่แข็งที่ส่งไปขายทั่วประเทศหรือแม้แต่การส่งออกไปขายต่างประเทศ มีวิธีการในการแพ็กของและ ขนส่งอาหารแช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง อย่างไร เพื่อให้อาหารรักษาความสดอยู่ตลอดเวลา วันนี้น้องพะโล้จะมาเผยเคล็ดลับ 5 เทคนิคแพ็กอาหารแช่แข็งที่ร้านค้าใช้กัน เพื่อที่เพื่อนๆจะได้นำไปประยุกต์ใช้ในการแพ็กของเพื่อน ๆ ได้อย่างถูกวิธี

1. เลือกพาชนะที่บรรจุให้เหมาะสม

ต้องเลือกพาชนะที่บรรจุให้เหมาะสม หากสินค้าที่ต้องการจะแพ็กเป็นประเภทอาหารที่ปรุงเสร็จใหม่ ๆ ให้เลือกใช้กล่องพลาสติก PP (BPA FREE) ที่มีความหนาสามารถเข้าไมโครเวฟได้ ปิดฝาให้สนิทก่อนนำไปสู่ขั้นตอนการแช่แข็ง ถ้าเป็นอาหารทะเลทั้งสดและแห้งให้เลือกใช้ถุง LLDPE (Linear Low Density Polyethylene) ซึ่งเป็นถุงพลาสติกที่มีความใส เหนียวและนิ่ม สามารถบรรจุอาหารเย็นแช่แข็งได้ดี แต่จะไม่ทนความร้อน รีดอากาศออกให้หมดก่อนซีลปิดปากถุงให้เรียบร้อย ซึ่งสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเครื่อง และถุงสูญญากาศได้

ถุงสูญญากาศสำหรับอาหารแช่แข็ง

ขอบคุณรูปภาพจาก สปริงกรีนอีโวลูชั่น

2. นำอาหารปรุงสำเร็จและอาหารทะเลไปแช่แข็ง

นำอาหารปรุงสำเร็จและอาหารทะเลไปแช่แข็ง หลังจากเลือกภาชนะสำหรับอาหารที่เหมาะสมแล้ว หากเป็นอาหารปรุงสดใหม่รอให้เย็นแล้วปิดฝาให้สนิทนำไปแช่แข็งที่อุณหภูมิต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียสตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข โดยจะต้องแช่แข็งเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงก่อนทำการจัดส่ง ในขณะที่อาหารทะเล, อาหารสด เมื่อนำบรรจุลงในถุงให้นำไปซีลในเครื่องซีลสุญญากาศ จากนั้นค่อยนำไปแช่แข็งด้วยอุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมงก่อนนำจัดส่งเช่นกัน ซึ่งการแช่แข็งด้วยอุณหภูมิที่ติดลบนั้น นอกจากจะเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่งแล้ว ยังเป็นการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียอื่น ๆ ได้อย่างดีอีกด้วย 

นำอาหารไปแช่แข็ง ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง

3. ใช้กล่องโฟมใส่กล่องอาหารแช่แข็งและถุงแช่แข็ง

ใช้กล่องโฟมใส่กล่องอาหารแช่แข็งและถุงแช่แข็ง หรือเลือกใช้กล่องพลาสติกที่มีความหนาและแข็งแรงนำอาหารที่ผ่านการแช่แข็งเป็นที่เรียบร้อยแล้วใส่ลงในกล่องโฟม โดยใช้ Dry Ice หรือ น้ำแข็งแห้งรองพื้นกล่องโฟมและชั้นบนสุดก่อนปิดกล่องโฟมหรือใส่บริเวณช่องว่างของกล่องอาหาร โดยปริมาณที่ใส่ไม่ควรเกิน 50-60% ของกล่องโฟม 

ส่งอาหาแช่แข็ง ใส่กล่องโฟม

4. ปิดฝาให้สนิท

ปิดฝากล่อง หรือปากถุงให้สนิท โดยใช้เทปกาวปิดทับรอยต่อของฝากล่องโฟมหรือพันให้สนิท เพียงเท่านี้อาหารสด อาหารทะเลก็พร้อมที่จะขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

5. เลือกบริษัท ขนส่งอาหารแช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง ที่มีตู้ควบคุมอุณหภูมิและตู้แช่แข็ง

ขั้นตอนสุดท้ายมีความสำคัญไม่แพ้ข้ออื่น ๆ เลย เพราะต่อให้แพ็กของดีมากแค่ไหน หากเลือกบริษัทขนส่งที่ไม่มีตู้ควบคุมอุณหภูมิ ตู้แช่แข็ง สินค้าก็ไม่มีทางส่งถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัยแน่นอน โดยเฉพาะการขนส่งข้ามจังหวัด ที่บริษัทขนส่งโดยส่วนใหญ่มักจะมีการพักของ ณ จุดกระจายสินค้า หากพักนานอาจทำให้สินค้าที่เป็นอาหารแช่แข็งเสียหายได้ รวมไปถึงบริษัทขนส่งบางแห่งจะมีกฎไม่รับฝากสินค้าประเภทอาหารทุกชนิดแม้เป็นอาหารแห้งและผลไม้ก็ตาม

ข้อควรระวังในการแพ็กอาหารแช่แข็ง

บริษัทขนส่งบางบริษัทจะมีกฎและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ผู้ส่งควรศึกษาข้อมูลก่อนตัดสินใจ โดยเฉพาะในเรื่องของภาชนะภายนอกสุด โดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้กล่องโฟม เนื่องจากกล่องโฟมสามารถกักเก็บความเย็นได้ดี ปกป้องความร้อนจากภายนอกได้ หากได้รับการซีลกล่องโฟมด้วยเทปอย่างดีแล้ว จะไม่มีน้ำเล็ดลอดเข้าและออกจากกล่องโฟมได้ แต่ข้อจำกัดของกล่องโฟมคือแตก หัก เสียหายได้ง่าย เมื่อต้องวางซ้อน ๆ กันหลายชั้นหรือวางปะปนกับภาชนะอื่น ๆ ที่แข็งกว่า อาจทำให้กล่องโฟมแตก หัก เสียหายในระหว่างการขนส่งก็เป็นได้ ทำให้บริษัทขนส่งเลี่ยงที่จะรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นนี้ นอกจากนี้ยังมีในส่วนของเครื่องดื่มที่บรรจุในภาชนะที่เป็นขวดแก้ว เช่น เครื่องดื่มต่าง ๆ ที่ส่งแบบแช่เย็นและแช่แข็ง อาจจะต้องเปลี่ยนเป็นภาชนะขวดพลาสติกแทน เพื่อป้องกันความเสียหายอันเนื่องมาจากการขนส่งได้

อายุและการจัดเก็บของอาหารแช่แข็งแบบต่าง ๆ

  • เนื้อหมู, วัว, แพะ, แกะ ที่จัดเก็บเป็นชิ้น สามารถจัดเก็บได้ไม่เกิน 12 เดือน
  • เนื้อบด จัดเก็บได้ไม่เกิน 6 เดือน
  • เครื่องในสัตว์ จัดเก็บได้ไม่เกิน 4 เดือน
  • สัตว์ปีก ไก่ เป็ด นก ที่จัดเก็บเป็นตัว สามารถจัดเก็บได้ไม่เกิน 12 เดือน
  • เนื้อสัตว์ปีกเป็นชิ้น จัดเก็บได้ไม่เกิน 6 เดือน
  • เครื่องในสัตว์ปีก จัดเก็บได้ไม่เกิน 4 เดือน
  • ปลาเป็นตัว จัดเก็บได้ไม่เกิน 6 เดือน
  • ปลาเป็นชิ้น จัดเก็บได้ไม่เกิน 3 เดือน
  • กุ้ง หอย ปู ปลาหมึก จัดเก็บได้ไม่เกิน 6 เดือน

 

          นอกจากกระบวนการแพ็กของที่ดีและมีคุณภาพแล้ว การเลือกบริษัท ขนส่งอาหารแช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง ก็มีความสำคัญมาก เพราะถือเป็นหัวใจหลักของการขนส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้าอย่างปลอดภัย MAKESEND หนึ่งในผู้ให้บริการขนส่งสินค้าที่มีตู้แช่แข็งและตู้ควบคุมอุณหภูมิไว้คอยบริการสำหรับร้านค้าและร้านอาหาร หรือแม้แต่ชาวสวนผลไม้ ที่ต้องการรักษาความสดใหม่ มีคุณภาพ ให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างปลอดภัย มีระบบการันตีการจัดส่งที่รวดเร็ว หากส่งช้ายินดีคืนเงิน มีการรับประกันสินค้าภายใต้เงื่อนไขที่บริษัทกำหนดและยอมรับได้ นอกจากนี้ยังมีบริการเก็บเงินปลายทาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ซื้อที่ต้องการความมั่นใจว่าได้ของชัวร์ และผู้ขายจะได้รับเงินทันทีเมื่อผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าแล้วแบบวันต่อวัน 

ที่มาข้อมูล

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *