สบายใจหายห่วง! 5 เทคนิคเพิ่มความปลอดภัย เมื่อต้องส่งอุปกรณ์ไอที

Palo (น้องพะโล้)

Palo (น้องพะโล้)

SHARES

นับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นต้นมา เทรนด์การทำงานที่บ้าน หรือ “Work From Home” ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น เพราะเป็นรูปแบบการทำงานที่ไม่จำเป็นต้องใช้สถานที่ทำงาน ช่วยให้ประหยัดงบประมาณ ประหยัดเวลาเดินทาง แถมยังช่วยให้พนักงานมีความเป็นส่วนตัว ส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานได้ดีขึ้น ซึ่งสิ่งที่ตามมาก็คือ ผู้คนเริ่มก้าวเข้าสู่ยุคการทำงานแบบการนำอุปกรณ์ไอทีส่วนตัวมาใช้ทำงานกันมากขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องใช้ของที่ออฟฟิศ หรือที่เรียกว่า “Bring Your Own Device” (BYOD) นั่นเอง ส่งผลให้ความต้องการอุปกรณ์ไอทีส่วนบุคคลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์พีซี, แล็ปท็อป, สมาร์ตโฟน, แท็บเล็ต ฯลฯ พุ่งสูงขึ้น ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลาย ๆ คนน่าจะเคยมีประสบการณ์ ส่งอุปกรณ์ไอที ผ่านบริการขนส่งต่าง ๆ ไปให้ลูกค้า เพื่อน หรือคนในครอบครัว แต่สำหรับใครที่ยังไม่เคยส่งอุปกรณ์ไอทีมาก่อน แล้วไม่รู้ว่าควรเริ่มที่ตรงไหนดี

วันนี้เราก็จะมาบอกต่อ 5 เทคนิคเพิ่มความปลอดภัยเมื่อต้องส่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านบริการขนส่ง รับรองว่าปลอดภัยหายห่วง

สำหรับบริการขนส่งในบ้านเราที่รับส่งอุปกรณ์เกี่ยวกับด้านไอที มีด้วยกันหลายเจ้า ซึ่งแต่ละเจ้าก็จะมีจุดเด่นแตกต่างกันออกไป โดยบริการขนส่งที่มีชื่อเสียงด้านการจัดส่งอุปกรณ์ด้านไอทีที่เรานำมาแนะนำกันในวันนี้มีด้วยกัน 3 เจ้าหลัก ๆ 

ผู้ใหบริการขนส่งพัสดุที่ครอบคลุมพื้นที่ทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลแบบส่งถึงภายในวันเดียว เน้นให้บริการแบบ “Business to Business” (B2B) ได้รับความนิยมในกลุ่มร้านค้าที่ต้องการส่งสินค้าที่ลูกค้าต้องการรับของภายในวันนั้น จุดเด่นคือส่งพัสดุได้น้ำหนักสูงสุดถึง 25 กิโลกรัม ซึ่งเหลือเฟือสำหรับส่งพวกอุปกรณ์ไอที ที่สำคัญคือหากส่งช้าเกินเวลา ยินดีคืนเงิน 100% 

บริการขนส่งที่อยู่คู่กับบ้านเรามาอย่างยาวนาน ให้บริการขนส่งทั้งเอกสารและพัสดุแทบทุกรูปแบบ มีให้เลือกทั้งแบบส่งธรรมดาและส่งด่วน จุดเด่นคือ ราคาไม่แพง มีจุดรับ-ส่งแทบทุกหมู่บ้านทั่วประเทศ ใช้เวลาจัดส่งตั้งแต่ 1 – 3 วัน เหมาะสำหรับใช้ส่งอุปกรณ์ด้านไอทีที่มีน้ำหนักไม่มาก 

บริการขนส่งเจ้าใหญ่มาแรง ถือเป็นเป็นบริษัทคู่แข่งของไปรษณีย์ไทยเลยก็ว่าได้ จุดเด่นคือมีจุดรับ-ส่งของทั่วประเทศ ส่งรวดเร็ว มีระบบ Tracking Number และระบบแจ้งเตือนลูกค้าที่แม่นยำ 

สำหรับใครที่ต้องการ ส่งอุปกรณ์ไอทีให้ถึงปลายทางอย่างปลอดภัย ไม่บุบสสายหรือสูญหายระหว่างทาง เราก็มี 5 เทคนิคที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยมาฝากกัน

บริการส่งพัสดุต่าง ๆ มักจะมีช่วงเวลาจัดส่งที่แน่นอน อาจจะเป็นช่วงเช้าหรือช่วงสายของวัน หากต้องการให้ของไปถึงผู้รับโดยเร็วที่สุดควรจัดส่งของให้ทันรอบส่งของ หากเป็นผู้รับในกรุงเทพฯ หรือปริมณฑลก็จะได้รับภายใน 1 วัน หากเป็นต่างจังหวัดก็อาจจะได้รับภายใน 1 – 3 วัน 

มีหลายคนที่เคยถูกบริษัทขนส่งปฏิเสธไม่จัดส่งของเพราะแพ็คพัสดุไม่เรียบร้อย หากไม่อยากเสียเวลากลับบ้านไปแพ็คใหม่ก็ควรแพ็คพัสดุให้เรียบร้อย พร้อมระบุชื่อผู้รับ-ผู้ส่งให้ชัดเจน ช่วยป้องกันพัสดุถูกตีกลับ 

ผู้ให้บริการจัดส่งบางเจ้าที่เปิดให้ลูกค้าขอรับสมุดเลขบาร์โค้ดมาแปะด้วยตัวเองที่บ้าน เหมาะสำหรับพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ไม่ต้องเสียเวลาไปแปะบาร์โค้ดที่หน้าเคาน์เตอร์ ช่วยประหยัดเวลาส่งของไปได้มาก 

นอกจากชื่อผู้รับ-ผู้ส่งแล้ว ควรระบุเบอร์โทรศัพท์ทั้งผู้ส่งและผู้รับ เพื่อช่วยให้ผู้ให้บริการขนส่งสามารถติดต่อผู้รับได้ในกรณีนัดหมายเข้าไปส่งของ หรือสอบถามเส้นทาง หรือติดต่อเราได้ในกรณีฉุกเฉิน หรือกรณีพัสดุตีกลับ

หากเป็นของที่ต้องส่งแบบเร่งด่วน ควรเลือกใช้บริการส่งด่วน แม้จะต้องเสียค่าบริการแพงกว่าปกติ แต่ก็ช่วยลดเวลาการขนส่งไปได้มาก ให้ผู้รับได้รับของไวขึ้นภายในไม่กี่ชั่วโมงหรือภายใน 1-2 วัน

  • เลือกขนาดกล่อง : ใช้กล่องที่มีขนาดเหมาะสม เพื่อไม่ให้ของกระแทกไปมาเวลาขนส่ง สามารถรองรับน้ำหนักของสินค้าได้ และมีพื้นที่เหลือใส่วัสดุกันกระแทกได้
  • ใส่วัสดุกันกระแทก : ส่วนใหญ่นิยมใช้ “แผ่นบับเบิ้ล” มาห่อสินค้า ช่วยลดแรงกระแทกระหว่างการขนส่ง เพราะมีน้ำหนักเบา ราคาไม่แพง ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
  • ปิดกล่องด้วยเทปกาว : ปิดกล่องพัสดุด้วยเทปกาวตามจุดต่าง ๆ รอบกล่องให้แน่นหนา พร้อมติดฉลากเตือนสินค้าบอบบาง เช่น “ห้ามโยน” เป็นต้น
  • เขียนชื่อที่อยู่ให้ชัดเจน : เพื่อป้องกันกรณีพัสดุถูกตีกลับ แล้วมัดเชือกที่รอบกล่องให้เรียบร้อย ก่อนดำเนินการจัดส่งพัสดุ

สำหรับใครที่ต้องการ วิธีแพ็คอุปกรณ์ไอทีให้ปลอดภัยมากขึ้น ช่วยให้สิ่งของไม่เสียหายระหว่างการจัดส่ง อาจมองหาวิธีการเก็บรักษาอุปกรณ์ไอทีด้วยวัสดุอื่นเพิ่มเติมนอกเหนือจากแผ่นบับเบิ้ลแบบดั้งเดิม ซึ่งวัสดุที่นิยมใช้กันในปัจจุบันมี 2 แบบ

นิยมใช้ในการขนส่งสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่มีราคาแพง โดยเทปชนิดนี้มีประโยชน์อย่างมาก เนื่องจากมีคุณสมบัติในการยึดติดกันกับกล่องกระดาษที่ดีเยี่ยม ไม่หลุดลอกง่าย ช่วยลดโอกาสที่กล่องจะเปิดเองระหว่างขนส่ง 

นอกจากแผ่นบับเบิ้ลแล้ว โฟมเม็ดกันกระแทกถือเป็นวัสดุที่ช่วยรับแรงกระแทกได้ดีเยี่ยม เหมาะสำหรับใช้ส่งอุปกรณ์ด้านไอทีที่มีความเปราะบางสูง ทั้งยังช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งของเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ กล่องกระดาษอีกด้วย 

สุดท้ายนี้ แม้ว่าเราจะแพ็คกล่องอุปกรณ์ไอทีได้แน่นหนาปลอดภัยขนาดไหน แต่หากบริการขนส่งที่เราเลือกใช้ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่มีความเป็นมืออาชีพมากพอ ก็อาจทำให้สินค้าของเราได้รับความเสียหาย เสียทั้งเงิน เสียทั้งเวลาโดยใช้เหตุ ดังนั้น เราจึงควรเลือกบริการขนส่งที่มีประสบการณ์ด้านการ ส่งอุปกรณ์ไอที ที่มีความน่าเชื่อถือสูง ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าจำนวนมาก และที่สำคัญคือควรเป็นบริการที่มีการรับประกันระยะเวลาการจัดส่ง หากของไม่ถึงผู้รับในระยะเวลาที่กำหนด ก็สามารถเรียกเงินคืนได้ เพียงเท่านี้เราก็มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ไอทีที่เราจัดส่งไปนั้นจะถึงมือผู้รับอย่างปลอดภัย

ที่มาข้อมูล :

อ่านเพิ่มเติม :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *