สายหวานควรรู้ วิธีเก็บเค้กแต่ละแบบแตกต่างกันอย่างไร

Palo (น้องพะโล้)

Palo (น้องพะโล้)

SHARES

เค้กที่ตกแต่งแล้วต้องใช้ความระมัดระวังในการเก็บรักษาความสดใหม่ เค้กแต่ละประเภทมีส่วนผสมแตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือต้องรู้วิธีเก็บเค้กอย่างเหมาะสม เช่น การนำเค้กไปเก็บด้วยวิธีแช่เย็นไว้ต้องรู้วิธีละลายอย่างถูกต้อง และ ขนส่งขนม เค้ก เบเกอรี่ รวดเร็วเพื่อคงความสดใหม่ก่อนถึงมือลูกค้า ข้อมูลต่อไปนี้จะช่วยให้รู้วิธีเก็บเค้กให้สดและสวยงาม

เค้กคืออะไร

เค้กคืออะไร


เป็นขนมที่มีกระบวนการทำให้สุกโดยการอบ เป็นขนมที่นิยมบริโภคกันทุกกลุ่มชนเค้กมีหลายประเภทและมีคุณสมบัติต่าง ๆ กัน ซึ่งขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของส่วนผสมคือแป้งสาลี ผงฟู เกลือ ไขมัน น้ำตาล ไข่ นม และกลิ่นรส โดยต้องมีองค์ประกอบเป็นตัวเค้กให้มีความสมดุลย์ต่างกันไป แล้วแต่ชนิดของเค้กที่จะทำ

ประเภทของเค้ก

เค้กเนยสด (Butter cake)

การเก็บรักษาเค้กเนยสด


เป็นเค้กมีที่ลักษณะเนื้อแน่นๆ ฉ่ำเนย มีความนุ่มและหอมมัน ตามชื่อเค้กเลยคือจะได้กลิ่นเนยเป็นหลัก มีส่วนผสม 3 ส่วนหลักๆ คือ เนย แป้ง และน้ำตาล ส่วนร้านอื่นอาจจะมีการปรับสูตรไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่มักจะนิยมรับประทานเฉยๆ เพราะตัวเค้กมีรสชาติหอมมันในตัวอยู่แล้ว เป็นเค้กที่มีความนิยมค่อนข้างสูง

ชีสเค้ก (Cheesecake)

การเก็บรักษาชีสเค้ก


เชื่อว่าเป็นประเภทเค้กที่หลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น ชีสเค้กหน้าไหม้ บลูเบอร์รี่ชีสเค้ก สตอร์เบอร์รี่ชีสเค้ก และอื่นๆ เนื้อเค้กจะมีความนุ่ม ละมุน ละลายในปาก ได้รสชาติของครีมชีสแบบเต็มปากเต็มคำ แต่จะมีรสชาติค่อนข้างหนัก กินเยอะๆ อาจจะเลี่ยนได้ เค้กชนิดนี้นิยมกินคู่กับซอสผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอมหวาน เพื่อตัดเลี่ยน รสชาติจะเข้ากันได้ดี มีทั้งแบบอบและไม่อบ

เครปเค้ก (Crepe cake)

การเก็บรักษาเครปเค้ก


เป็นเค้กอีกหนึ่งชนิดทีทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ความพิเศษของเค้กชนิดนี้คือไม่ต้องอบ สามารถตีแป้งแล้วลงไปทอดในกระทะได้เลย เนื้อเค้กประกอบไปด้วยแป้งสาลี ไข่ น้ำตาล นม เนย ​ผสมกัน เมื่อทำให้สุกแล้ว วางสลับชั้นเป็นเนื้อครีมสด รสสัมผัสจะนุ่มละมุน จากเนื้อแป้งและครีมสด นิยมกินคู่กับซอสรสเปรี้ยวอมหวานเช่นกัน

ชิฟฟอนเค้ก (Chiffon cake)

การเก็บรักษาชิฟฟ่อนเค้ก


เชื่อว่าเป็นเนื้อเค้กที่คนไทยคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี เราจะคุ้นได้จาก ชิฟฟอนมะพร้าวอ่อน ชิฟฟอนฝอยทอง เป็นต้น รสสัมผัสจะมีความนุ่มฟู เวลากดลงแล้วเนื้อเค้กจะเด้งคืนตัว โดยส่วนผสมหลักของชิฟฟอนเค้กคือไข่แดงและไข่ขาว ตีแยกกัน และจะใส่น้ำมันพืชแทนเนย โดยเนื้อชิฟอนสามารถนำไปดัดแปลงทำเค้กได้หลากหลาย ตามที่เราหาซื้อกินทั่วไปเลย

มูสเค้ก (Mousse cake)

การเก็บรักษามูสเค้ก


มูสเค้ก ถ้าแปลตรงตัวคือมูสก็หมายถึงโฟม เพราะฉะนั้นเนื้อเค้กจะมีความนุม ละลายในปาก โดยเค้กชนิดนี้จะไม่ใช้เนื้อแป้งเลย แต่จะใช้ส่วนผสมของวิปปิ้งครีมและไข่ขาวเป็นส่วนประกอบหลักนั่นเอง เค้กชนิดนี้จะต้องใส่เจลลาตินเพื่อให้เนื้อเค้กเซ็ตตัวอีกด้วย นิยมกินแบบเย็น และเมนูที่เราเห็นเป็นประจำคือ มูสเค้กช็อกโกแลต นั่นเอง

 สปันจ์เค้ก (Sponge cake) 

การเก็บรักษาสปันจ์เค้ก


เนื้อเค้กชนิดนี้เรามักจะเห็นตามร้านเค้กทั่วไป มีรสสัมผัสนุ่ม ฟู  มีความเบา และฉ่ำหอมกลิ่นเนยเป็นพิเศษ เนื้อเค้กชนิดนี้จะคล้ายๆ ชิฟฟอนเค้ก นั่นเองแต่จะหอมกลิ่นเนยมากกว่า เค้กชนิดนี้นำมาทำเค้กวันเกิด โรลเค้ก คัพเค้ก หรือเค้กที่ใช้ครีมในการตกแต่ง เป็นต้น 

เค้กไข่ขาว (Angel food cake)

การเก็บรักษาเค้กไข่ขาว


เป็นเนื้อเค้กที่คนไทยอาจจะไม่คุ้นเคยนัก เนื้อเค้กชนิดนี้ใช้ไข่ขาวเป็นส่วนประกอบหลัก และไม่มีส่วนผสมของไข่แดงเลย เนื้อเค้กเลยจะมีสีขาว เนื้อเหมือนสปันจ์เค้ก เนื่องจากใช้น้ำตาลในตีค่อนข้างเยอะ นอกจากนี้การอบเค้กไข่ขาวจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะตัวเค้กอาจไม่ขึ้นฟูได้ ส่วนใหญ่จะต้องใช้ครีมออฟทาทาร์มาช่วย นิยมกินคู่กับผลไม้สด ช่วยตัดรสชาติได้ดี

วิธีการจัดเก็บเค้กก็เปลี่ยนไปตามประเภทเช่นกัน คนส่วนใหญ่คิดว่าเก็บเค้กไว้ในตู้เย็นดีที่สุด ความจริงแล้วเนื้อเค้กหลายประเภทจะแห้งและแข็งเมื่อแช่ไว้ในตู้เย็น ยกเว้นเค้กหน้าครีม หรือมูสเค้ก ความเหมาะสมขึ้นอยู่กับประเภทของหน้าเค้ก มีเคล็ดลับในการจัดเก็บเค้กประเภทต่าง ๆ มาฝากกันดังนี้

วิธีเก็บรักษา

  • สำหรับเค้กทั่วไปที่ไม่ได้แต่งด้วยครีมหรือ ช็อกโกแลต เก็บที่อุณหภูมิห้อง ควรเก็บในภาชนะที่มีฝาปิดสนิทเพื่อป้องกันไม่ให้เค้กแห้ง
  • สำหรับเค้กที่มีครีมหรือราดหน้าด้วยช็อกโกแลต ควรเก็บในตู้เย็น เหมาะ โดยใส่ภาชนะที่มีฝาปิด วิธีนี้จะเก็บได้นานขึ้น
  • เก็บโดยวิธีแช่แข็ง เค้กทุกชนิดสามารถเก็บโดยวิธีนี้ได้ทั้งสิ้น สำหรับเค้กที่ไม่ได้แต่งหน้าจะเก็บได้นานถึง 3 เดือน โดยคุณภาพยังเหมือนเดิม ส่วนเค้กที่แต่งหน้าแล้ว จะเก็บได้ประมาณ1-2 เดือน ถ้าเป็นเค้กผลไม้จะเก็บได้นานขึ้น
  • เค้กที่ไม่ได้แต่งหน้าด้วยครีมหรือน้ำตาลและไม่มีไส้ เช่น ชิฟฟอน หรือเค้กไข่ ควรห่อด้วยฟิล์มพลาสติกให้มิดชิด สามารถเก็บในตู้เย็นได้ 3-5 วันโดยไม่แห้งแข็ง แต่ถ้าเก็บในช่องฟรีซจะอยู่ได้ 2-4 เดือนเลยทีเดียว

การเก็บรักษาเค้กประเภทต่างๆ

       

สำหรับการ ขนส่งขนม เค้ก เบเกอรี่ เตรียมส่งถึงลูกค้าเพื่อมอบเป็นของขวัญในเทศกาลต่าง ๆ ต้องอาศัยบริการจัดส่งที่รวดเร็วและเหมาะสม ถ้าเลือกบริการของ เมคเซนส์ (Makesend) จัดส่งด่วนภายในกรุงเทพฯ มีวิธีเก็บแบบรักษาอุณหภูมิสำหรับอาหารที่ต้องการรักษาความสดใหม่ไว้ได้ ทำให้คุณได้ทานเค้กอร่อย ๆ สด ใหม่ ในทุกเวลาที่ต้องการ

ที่มาของข้อมูล :

อ่านเพิ่มเติม :

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *