ในช่วงโควิด-19 ที่ส่งเสริมให้ทำงานอยู่ที่บ้านหรือ Work from home แบบนี้ เชื่อว่าหลายท่านคงประสบปัญหากับเรื่องอาหารการกินอย่างแน่นอน โดยเฉพาะจังหวัดในพื้นที่เสี่ยงสีแดงที่ทางรัฐบาลประกาศเป็นพื้นที่เสี่ยง ห้ามนั่งรับประทานอาหารที่ร้าน ได้แต่สั่ง ขนส่งอาหารแช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง แบบ Delivery มากักตุน เพื่อลดการออกไปสัมผัสเชื้อข้างนอก แต่จะทำอย่างไรให้อาหารที่ซื้อมานั้นสามารถยืดอายุออกไปได้หลาย ๆ วันและยังน่ากินอยู่ โดยเฉพาะของสด ในวันนี้จะมาบอกเคล็ดลับเก็บของสดให้อยู่ได้นาน คงความสดและน่ากินให้ทุกท่านนำไปใช้ เพื่อจะได้ทำงานอยู่ที่บ้านอย่างมีความสุข มีของกินคุณภาพดี และผ่านสถานการณ์โควิด-19นี้ไปอย่างปลอดภัยด้วยกันทุกคน
1. ใช้ถุงซิปล็อกเพื่อความสะดวก
สำหรับเนื้อสัตว์ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู, เนื้อไก่ หรือเนื้อวัว ให้จัดการแบ่งใส่ถุงซิปล็อกในปริมาณที่พอดี กดให้ถุงแบน ๆ ก่อนนำเข้าช่องแช่แข็ง เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้ เนื้อสัตว์ที่กดเป็นแผ่นแบน ๆ ก็จะเย็นได้ไวกว่าเป็นก้อนหนาและสามารถจัดเรียงได้อย่างเป็นระเบียบอีกด้วย ในขณะที่สัตว์ทะเลอย่าง กุ้ง จะมีวิธีในการจัดเก็บที่แตกต่างกัน โดยในส่วนของกุ้งสด จะต้องนำมาล้างทำความสะอาดเสียก่อน จากนั้นหากล่องพลาสติกที่มีฝาปิด เรียงกุ้งลงในกล่องแยกจำนวนตัวตามการใช้งาน เช่น 10 ตัว เพื่อไม่ให้แออัดจนเกินไป แล้วเทน้ำเปล่าลงไปให้ท่วมตัวกุ้ง ปิดฝาแล้วนำเข้าช่องแช่แข็งในทันที สำหรับปลาสดชนิดต่าง ๆ ก็เช่นกัน ให้ล้างทำความสะอาดก่อนใส่ถุงซิปล็อก ไล่อากาศออกให้หมดแล้วนำแช่ช่องฟรีซ เพียงเท่านี้ท่านก็จะมีเนื้อสัตว์ต่าง ๆ ไว้รับประทานนานนับสัปดาห์

2. ใช้ฟอยล์ช่วยเมื่อต้องแช่แข็งในระยะเวลานาน
เนื้อสัตว์ทุกชนิดหากนำไปแช่แข็งเป็นระยะเวลานานจะเกิดปฏิกิริยาที่เรียกว่า Freeze Burn คือรอยแห้งจากน้ำแข็ง ทำให้เนื้อบริเวณนั้นสีซีด ส่งผลให้สารอาหารบางอย่างขาดหายไป ดังนั้นจึงควรใช้อะลูมิเนียมฟอยล์เข้ามาช่วยในการห่อหุ้มก่อนนำไปแช่แข็ง ก็จะช่วยให้แช่แข็งได้นานขึ้น ดังจะเห็นได้จากการสั่งซื้อเนื้อสัตว์ชนิดพิเศษจากต่างประเทศ นอกจากจะรักษาความเย็นได้แล้ว ยังช่วยป้องกันรอยไหม้จากการแช่แข็งเป็นเวลานานอีกด้วย

3. ผักสดใส่ถุงแช่ตู้เย็นอยู่ได้นาน
ผักสดที่ซื้อมาจากตลาดให้นำไปล้าง เด็ดใบที่เน่าหรือช้ำออก จากนั้นใส่ผึ่งให้แห้ง ห่อด้วยกระดาษน้ำตาล ใส่ถุงแล้วแช่ตู้เย็น รับรองได้เลยว่าคุณจะพบความอัศจรรย์ของวิธีการดังกล่าว นอกจากนี้ในส่วนของผักคะน้า กวางตุ้ง และผักกินใบอื่น ๆ สามารถนำมาหั่นเป็นชิ้น ๆ เก็บใส่กล่องก็จะช่วยประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บผักในตู้เย็นได้อีกมาก ซึ่งมีข้อระมัดระวังอยู่เพียงอย่างเดียวนั่นคือห้ามนำผักที่เปียกน้ำไปแช่ เพราะจะทำให้ผักเน่าไวมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ในส่วนของผักที่มีปริมาณน้ำเยอะ เช่น มะเขือเทศ แตงกวา ผักกาดหอม จะไม่สามารถนำมาแช่แข็งได้ เพราะรสชาติและผิวจะเปลี่ยนสีไม่น่ารับประทาน
4. ไข่สดแช่ตู้ได้เลย ไม่ต้องล้าง
ไข่ไก่ ไข่เป็ด เมื่อซื้อมาแล้วสามารถนำเข้าแช่ในตู้เย็นได้ทันที โดยไม่ต้องล้างเปลือก เพราะไม่อย่างนั้นสารเคลือบผิวที่รักษาความสดของไข่อาจโดนทำลายได้ เวลาแช่ให้นำด้านแหลมอยู่ข้างล่าง เวลาตอกไข่แดงจะได้ไม่แตกและโพรงอากาศภายในไข่จะมีพื้นที่น้อยลงด้วย เพราะยิ่งมีพื้นที่โพรงอากาศมาก ไข่ยิ่งเสียเร็ว
5. อะโวคาโด, บรอกโคลี ถ้าแรปไว้จะอยู่ได้นานเป็นสัปดาห์
ผัก ผลไม้ บางชนิดที่ต้องการเก็บไว้กินในช่วง 1-2 สัปดาห์ สามารถใช้พลาสติกแรปไว้ได้ เช่น อะโวคาโดและบรอกโคลี ก่อนนำไปแรปควรล้างให้สะอาด ผึ่งให้แห้ง จากนั้นใช้พลาสติกแรปก่อนนำไปแช่ในตู้เย็น ก็จะช่วยยืดอายุออกไปได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์เลยทีเดียว หรือจะทำเป็นอะโวคาโดหั่นเต๋าใส่ถุงซิปแช่แข็งก็จะสามารถเก็บไว้ได้นานนับเดือนพร้อมรับประทานเลยทันที จะกินแบบสดหรือปั่นใส่นมก็อร่อยไม่เหมือนใคร แถมคงคุณค่าสารอาหารแบบครบถ้วนอีกด้วย
อย่าลืมว่าของสดที่นำเข้าตู้เย็นทุกอย่างมีอายุจำกัด ควรหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอ เพราะมิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดการเน่าเสียได้ รวมไปถึงบริษัท ขนส่งอาหารแช่แข็ง อาหารทะเลแช่แข็ง ที่เลือกใช้บริการสั่งสินค้าและส่งสินค้าจะต้องมีตู้ควบคุมอุณหภูมิ เพราะไม่อย่างนั้นแล้วสินค้าอาจไม่สามารถยืดอายุการจัดเก็บออกไปได้อีก โดยเฉพาะระยะเวลาในการเดินทางจากแหล่งผลิต ควรตรวจสอบให้แน่ใจ เพราะบางครั้งหากเป็นผลไม้ที่มีความสุกมาก ๆ ก็จะส่งผลต่อผู้ซื้อได้เช่นกัน ควรติดต่อสอบถามกับทางร้านค้าให้ดีเสียก่อนว่าต้องการผลไม้ความสุกระดับใด จะได้ไม่ผิดหวัง อีกข้อควรระวังคือ ควรจัดเก็บให้พอเหมาะกับขนาดของพื้นที่ มิใช่ใส่จนแน่นตู้เย็น ซึ่งจะทำให้ตู้เย็นทำงานหนักและทำความเย็นลดลง มีผลกระทบต่อความสดใหม่ของอาหารที่เก็บไว้ได้
ด้วยวิธีการจัดเก็บอาหารแบบแช่เย็นและแช่แข็งในช่วงที่ต้อง work from home แบบนี้ ก็จะช่วยให้ทุกคนมีวัตถุดิบที่พร้อมในการบรรจงปรุงแต่งอาหารเลิศรสที่บ้านได้แบบชิลล์ ๆ ไม่ต้องออกไปนอกบ้านบ่อย เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสในระยะนี้
ที่มาข้อมูล